๑๑) เมื่อ Post ที่แล้ว มีอาจารย์อาวุโสท่านหนึ่ง Inbox มาบอกว่า ไม่เห็นตอบเลย พระนามกรมพระสมมตฯ ออกเสียงอย่างไร ผมก็ว่าตอบแล้วครับ ตอบก่อนเลย ท่านว่าให้ผมกลับมาดู ตาย ใจหายวาบ เป็นดังท่านว่าจริงๆ เพราะมัวแต่ Cut ไป Paste มา เลยงง ต้องออกเสียงว่า สม-มด ไม่ใช่ สม-มุด ครับ ดังสำรับพระนามกรมคล้องจองกัน ที่ยกมานะครับ ต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์อาวุโสท่านนั้นมากๆ ด้วยนะครับที่ศิษย์พลั้งเผลอไป ขออนุญาตชมว่าท่าน “สกุณาตาดีฉนี้หนอ ไม่เคลื่อนคลอไปตามวัยไฉนเล่า” จริงๆ แล้วก็ต้องขอโทษสมาชิกทุกท่านที่ติดตามนะด้วยครับ
https://www.facebook.com/groups/1763013633982273/posts/3652579695025648/
๑๒) คราวนี้ก็คงต้องว่าด้วย “กรมพระสมมตฯ มาเกี่ยวข้องกับ “ทวีธาภิเศก” ได้อย่างไร” ผมขอยกมา ๒ ข้อ ที่เห็นว่าสำคัญก่อนนะครับ คือผมพบว่า ในฐานะที่ท่านเป็นราชเลขาฯ บ่อยครั้งท่านต้องเขียนพระราชกระแสลงในต้นร่างส่วนพระองค์ ตามที่จะมีรับสั่งบอก ก็คือบอกจดนั่นแหละครับ เมื่อคราวพระพุทธเจ้าหลวงจะบำเพ็ญพระราชกุศล พระชนมายุสมมงคล เสมอด้วยพระพุทธเลิศหล้าฯ ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๒) ดังรูปข้างล่าง โปรดเกล้าฯ ให้พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งก็รวมพระองค์ท่านด้วย มาฉายพระรูปร่วมกันหน้าพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันพุธที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๒) เวลาบ่าย ๒ โมง โปรดให้ พระเจ้าบรมวงษเธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ซึ่งเป็นพระราชธิดาในพระพุทธเลิศหล้าฯ ที่เหลืออยู่เพียงพระองค์เดียวในขณะนั้น ประทับพระราชอาสน์ตราแผ่นดินเป็นประธาน พระพุทธเจ้าหลวงทรงฉลองพระองค์ราชปะแตนสีขาว ประทับพระเก้าอี้ ลำดับที่ ๔ เบื้องซ้ายพระเจ้าบรมวงษเธอ องค์ประธานครับ
https://www.facebook.com/groups/1763013633982273/posts/3652677171682567/
๑๓) ในการนั้น จะต้องมีพระธรรมเทศนา ๒ กัณฑ์ พระธรรมกถึกทั้ง ๒ รูป จะต้องถวายร่างขึ้นมาเพื่อทอดพระเนตรก่อน ร่างของ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส ผ่านครับ แต่อีกร่างหนึ่งของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ ธมฺมสิริ) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (รูปด้านล่างนี้นะครับ) เชื่อไหมครับว่า ตลอด ๑๓ หน้า ไม่มีที่ตรงไหนเลยกล่าวถึงโรงเรียนเรา ก็เป็นที่เข้าใจ เพราะผมพบหลักฐานหนึ่งเป็นหนังสือ ขุนประการวุฒิสิทธิ เจ้าพนักงานจัดการแขวงตะวันตกใต้ ลงวันที่ ๘ มกราคม ร.ศ.๑๓๑ (วันพุธ พ.ศ.๒๔๕๕) มีความเรียน พระยาศึกษาสมบูรณ์ เจ้ากรม กรมศึกษาธิการ ว่า “ท่านก็ไม่สู้จะยินดีในทางโรงเรียนภาษาไทยด้วย” คือท่านคงโปรดโรงเรียนบาฬีนักธรรมมากกว่า
https://www.facebook.com/groups/1763013633982273/posts/3652679031682381/
๑๔) พระพุทธเจ้าหลวงท่านไม่ว่าอะไรเจ้าคุณสมเด็จฯ เลยนะครับ คงทรงเห็นว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่ แต่โปรดเกล้าฯ ให้ในกรมเข้ามาแก้ใหม่ ตามแต่จะมีรับสั่ง ต้นฉบับที่แก้นี้ ผมพบเพียง ๕ หน้า แต่ที่ดีใจและปลื้มใจที่สุดก็คือ ทรงบอกให้จดเพิ่มเข้าไปว่า “ให้สร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดอรุณราชวรารามด้านเหนือ เปนตึกใหญ่ พระราชทานนามว่า โรงเรียนทวีธาภิเศก ตั้งอยู่ ณ กาลบัดนี้” ต้องขอบอกก่อน โรงเรียนเราเริ่มสร้าง พ.ศ.๒๔๔๑ แล้วเสร็จ พ.ศ.๒๔๔๕ ให้หลังจากช่วงนั้น เวลาล่วงไปกว่า ๑๑ ปีแล้วนะครับ ยังทรงนึกถึงโรงเรียนเราได้ นี่คือประการแรก อีกประการหนึ่ง ในกรมทรงจดไว้ชัดเจนว่า “ทวีธาภิเศก” ท่านจะจดนอกเหนือรับสั่ง คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ผมว่าเราคงใช้มาถูกต้องแล้วล่ะครับ ต้นฉบับอาจลางเลือนนิดหนึ่ง พยายามอ่านกันนะครับ ลายพระราชหัตถ์อยู่ท้ายหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา รูปที่ ๑ แต่ไม่พอ ท่านมาทรงต่อด้านหลัง คือรูปที่ ๒ ครับ ส่วนรูปที่ ๓ เป็นลายพระหัตถ์ในกรม เรื่องโรงเรียนอยู่หัวกระดาษเลยครับ
https://www.facebook.com/groups/1763013633982273/posts/3652683481681936/
๑๕) เรื่องศัพท์แสงคงจบแล้วนะครับ จากนี้ ขอเล่าเรื่องการค้นคว้าต่อไป ผมเริ่มกลับมาโรงเรียนอย่างเป็นทางการครั้งแรกในงานคืนสู่เหย้า วันเสาร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ครับ รุ่งขึ้นผมเริ่มเลย ด้วยหนังสือ ๒ เล่ม ที่เก็บไว้แต่สมัยโน้น คือ “๘๔ ปี และ ๙๐ ปี ทวีธาภิเศก” ครับ จากนั้น ก็ไปที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งเดินเข้าออกมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๐ นะครับ ผมยังเก็บบัตรอนุญาตที่เป็นกระดาษชุดสุดท้าย รวมทั้งของ หอสมุดแห่งชาติ ด้วย ไว้เป็นที่ระลึก ก่อนเขาจะทำเป็นบัตรแข็ง เพื่อเข้าระบบ Computer ครับ ตลอด ๑ ปีเต็มที่ไปค้นคว้า ผมไม่เสียเงินเลย หากใครเคยไป จะทราบว่า การ Copy เอกสาร ไม่ว่ารูปแบบใด แพงมากครับ ผมเองไม่มีงานประจำทำ ก็ควรประหยัดเงินไว้หน่อย ใช้วิธีเอา Notebook ไปนั่งลอกข้อมูลมา จนสำเร็จลงในวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ครับ
https://www.facebook.com/groups/1763013633982273/posts/3653084474975170/
๑๖) เพื่อทำ Literature Review (มีคนแปลว่า สำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ดูยิ่งใหญ่ไปหน่อย ขอใช้คำฝรั่งแล้วกันครับ) จึงตัดสินใจไปห้องสมุดโรงเรียน ในวันพุธที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งก็ได้ข้อมูลมาไม่น้อย ที่สำคัญคือเล่มที่นำมาลงนี้นะครับ อ.วรสิทธิ อินทาปัจ เรียบเรียง “พิมพ์ขึ้นเนื่องในงานทำบุญวันเกิดของโรงเรียนครบรอบ ๕๕ ปี วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๐” (วันเสาร์) ครับ แรกเห็น ผมจำได้เลย เมื่อเรียนอยู่ ม.ต้น ทั้ง ๓ ปี ห้องเรียนผมอยู่ที่ อาคาร ๕ ชั้นบน เพียงห้องเดียว แล้วก็มี ห้องสมุด บรรณารักษ์คือ อ.ส่องศรี สนธิวรรธนะ (รูปนี้ถ่ายที่ห้องสมุดนั้นแหละครับ มาจาก อนุสรณ์ทวีธาภิเศก พ.ศ.๒๕๑๔ ครับ) ท่านหยิบจากในตู้มาให้อ่าน ตอนนั้น เห็นเรียงรายเหมือนแถวทหารเป็นหลายสิบเล่ม แต่ตอนนี้ ครูเร บรรณารักษ์ท่านปัจจุบันบอกว่า “เหลือเพียงเล่มนี้ เล่มเดียวเท่านั้น” แถมยังชำรุดมากด้วยครับ
https://www.facebook.com/groups/1763013633982273/posts/3653087831641501/
๑๗) เมื่อกล่าวถึง อ.วรสิทธิ ผมขอใช้ Post นี้เขียนเพื่อรำลึกถึงท่านนะครับ เมื่อเรียน ผมเป็นนักดนตรีไทยครับ เห็นท่านมาเล่นดนตรีด้วยบ่อยๆ ในวงอาจารย์ ซึ่ง อ.สำเนียง บัวทั่ง ต้องเกณฑ์ให้พวกเราเข้าสมทบด้วย รูปนี้น่าจะราว พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๒๕ จำไม่ได้แน่ แต่อาจารย์ ผมจำได้ทุกท่านครับ จากซ้าย อ.สงบ สวนสิริ สีซออู้ อ.ประยูร ฟักภู่ ตีระนาดเอก อ.วรสิทธิ สีซอฝรั่ง Violin นั่นแหละครับ สมัยโน้นเรียกอย่างนี้ อ.พจนีย์ บุญประคอง ตีระนาดทุ้ม หลังผมจบไปหลายปีแล้ว อ.ศรีนคร หอมสุวรรณ ลูกสาวท่าน ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ม.๑/๓ และสอนภาษาไทยผม ยังมาตามผมไปสอนดนตรีให้ลูกท่าน ผมก็ยังได้ไปกราบ อ.วรสิทธิ อีกหลายครั้งที่บ้านซอยพณิชย์ธน จำเลือนลางว่า บางแวก หรือ วัดปากน้ำ อย่างไรนี่ครับ ดูก็คิดถึง ๔๐ กว่าปีแล้ว ทุกท่านจากผมไปหมด เว้นแต่ อ.สำเนียง ปัจจุบันท่านอายุ ๙๔ ปีครับ ไปอยู่กับลูกสาวที่เชียงใหม่ ผมยังติดต่อได้ เมื่อ ๒ วันที่แล้ว รุ่นน้องโทรมาบอกว่า ท่านเดินไม่ค่อยไหว หูก็ไม่ค่อยได้ยินแล้วครับ
https://www.facebook.com/groups/1763013633982273/posts/3653091644974453/
๑๘) จากนั้น ผมมานั่งคิดว่า อย่างน้อย เราต้อง Print Microfilm ออกมา เพื่อเป็นหลักฐาน แต่ต้องคิดหนัก เพราะอย่างที่ว่า หน้าละ ๑๐ บาทนะครับ เชื่อไหมครับ มีรุ่นน้องไปอยู่อเมริกาหลายปีดีดัก จนไม่คิดว่าจะพบกันแล้ว ช่วงนั้น เขากลับมาเยี่ยมบ้านพอดี แล้วทราบเรื่อง เขาว่า “ทำไปเลยพี่ประกิต ขาดเหลืออะไร เท่าไร บอกผม เดี๋ยวผมจะจัดรถมารับส่งให้ด้วย” นี่คงเป็น พระบารมี แรกที่ผมได้รับ ผมขอเพียง ขาดเหลือ เท่านั้น ส่วน รับส่ง ผมปั่นจักรยานจากบ้านข้ามสะพานซังฮี้ไปได้ ผมก็เลยต้องทำบัตรขออนุญาตปีต่อปีมาเยอะมาก ดังที่เห็นนี่ครับ
https://www.facebook.com/groups/1763013633982273/posts/3653099494973668/
๑๙) มีผู้ถามเรื่อง ตึกรัชดา ผมขออธิบายดังนี้ครับ ตึกนี้ก็คือ ตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา ของเราปัจจุบันนี่แหละครับ เดิมจะตั้งชื่อดังนั้น เพราะกำหนดแล้วเสร็จ จะตรงกับ พระราชพิธีรัชดาภิเษก ฉลองศิริราชสมบัติ ๒๕ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่แล้ว พ.ศ.๒๕๑๔ ครับ แต่ภายหลัง โรงเรียนคงไปกราบทูลเชิญ พระวรวงษเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (พระองค์เจ้าธานีนิวัติ) พระโอรส พระเจ้าบรมวงษเธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา องค์อธิบดีสร้างโรงเรียนเรามาเปิดตึก ไม่ทราบว่าไปตกลงกันอย่างใด พระองค์ธานีฯ ประทานชื่อตึกตามพระนามเสด็จพ่อท่าน จึงใช้กันสืบมาจนปัจจุบัน ชื่อ ตึกรัชดา ก็เลยถูกลืมไป ถามคนเก่าๆ ในโรงเรียน ยังไม่รู้จักกันเลยครับ ไม่ต้องพูดถึงคนเดี๋ยวนี้ บางท่านว่าเป็นตึกที่ทุบไปแล้ว ไม่ถูกต้องครับ ผมมีรูปให้ดู จาก อนุสรณ์ทวีธาภิเศก ๒๕๑๔ ขอให้สังเกตว่า ยังไม่มีชื่อและนาฬิกาที่หน้าตึกเลยนะครับ (มีสมาชิกท่านหนึ่งบอกว่า ขอให้ทำคำบรรยายในรูป เพราะบาง Post มีหลายรูป ตอนแรกผมก็ว่าจะทำ แต่ไปมา รู้สึกว่าจะทำให้รูปเสียงามไป เผื่อท่านใดนำไปใช้ จะได้ไม่มีอะไรมาบัง ขอให้อ่านใน Post อย่างละเอียด ก็คงจะเข้าใจครับว่ารูปไหน)
https://www.facebook.com/groups/1763013633982273/posts/3654291428187808/
๒๐) เมื่อพูดถึง “ตึกพิทย์” ผมขอเพิ่มเติมข้อมูลและรูปหน่อยนะครับ ก่อนสร้างตึกนี้ บริเวณเดิมดูคล้ายมีโรงเรือนอะไรไม่ทราบตั้งอยู่ ดังรูป ซึ่ง Four in One เลยครับ ผมวาง Scan ทีเดียวเลย ๔ ใบ ๒ ใบบน เห็น อาคาร ๒ อาคาร ๓ ชัดเจน หวังว่าพี่ๆ คงจำได้นะครับ ผมเอง ทันก็ อาคาร ๓ เท่านั้น
https://www.facebook.com/groups/1763013633982273/posts/3654301224853495/